วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย






ที่ตั้งโครงการ
ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประมาณ 22 กิโลเมตร
ความเป็นมา
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผัดเบี้ย อำเภอบ้านเหลม จังหัวดเพรชบุรี เกิดขึ้น สิบเนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีพระราชดำริด้านปัญหาขยะและน้ำเสีย
มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การศึกษาวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะชุมชนที่ประหยัด สะดวก ทำได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใจ้กับพื้นที่อื่นไ ในประเทศได้อย่างกว้างขวาง

หลักการและเหตุผล
โดยทั่วไปหากพิจารณาจกาลักษณะเฉพาะและการปะรกอบอาชีพสามารถแบ่งลักษณะของชุมชน/สังคมเป็น 5 กลุ่ม คือ ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนพาณิชยกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม ชุมชนท่องเที่ยวแบะนันทนาการ และชุมชนผสมแมื่อสามารถจำแนกรูปแบบชุมชนออกเป็นประเภทเหล่านี้ได้แล้ จะทำให้นักประชาสัมพันธ์และนักสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถวางแผนในการประขาสัมพันธ์และการให้ความรู้เทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดได้
วัตถุประสงค์
1.)เพื่อนำองค์ความรู้ เรืองเทคโนโลยีการกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียผ่านการะบวนการประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาไปสู่กลุ่มเป้าหมาย
2.)เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการประสานปะรโยชน์ระหว่างหน่วยงานและประชากร

ลักษณะรูปแบบของสังคม/ขุมชน
1.) ชุมชนเมือง ส่วนใหญ่อาชีพเข้ามามีบทบาทในการกำหนดความแตกต่างการแบ่งชั้นสังคม สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.) ชุมชนพาณิชยกรรม
2.)ชุมชนอุตสาหกรรม
3.)ชุมชนท่องเที่ยวและนันทนาการ
4.)ขุมชนแบบผสม

ชุมชนชนบท
ประขาชนส่วนใหญ่มีอาขีพทำการเกษตร จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติ วิถีชีวิต ความเชื่อ จารีตประเพณี และทัศนคติของชนบท มีความเป็นกลุ่มคนไม่แตกต่างกันทางความคิด คือ ชุมชนเกษตรกรรม
1.ความรู้พื้นฐานการประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษา
1.)ลักษณะการประชาสัมพันธ์
1.1)การประชาสัมพันธ์ประกอบด้วยการใช้สื่อมวลชน อาทิการเขียนข่าาว การให้ข่าว และการสัมภาษณ์ นำลงไปใช้ในสื่อมวลและการไม่ใช้สื่อมวลชน อาทิ การจัดสัมมนา จัดแสดงผลงาน การจัดการแข่งขัน
1.2)การประชาสัมพันธ์เป็นทั้งสื่อที่จ่ายเงิน อาทิ การซึ้อพื้นที่เพื่อนำข่าวลง และสื่อที่ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินอาทิ การนำข่าวไปแจ้งให้กับนักช่าวทราบ และนักข่าวสนใจตามมาขอข่าวไปลงเอง

2.สิ่งแวดล้อมศึกษา
2.1 ปรัชญา
ปรัชญาของสิ่งแวดล้อมศึกษาซึ่งต้องอาศัยหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษาประกอบด้วย แนวคิด 3 ประการ คือ
1.) การให้ความรู้ทางสิ่งแวดล้อมศึกษา ต้องเป็นการให้การศึกษาที่ ยาวนานและต่อเนื่องชั่วชีวิต
2।)สิ่งแวดล้อมศึกษาต้องเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดสิ่งต่อไปนี้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ คือ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ จากสิ่งเหล่านี้


1।) ความรู้ (kownledge) เป็นความรู้ที่ลุ่มลึกจนสามารถสร้างแนวคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ

2.) ทัศนคติ (attitudes) เป็นแนวคิดที่ถูกต้องในการอนุรักษ์สาธารณะจากตนเง ทั้งต่อหน้าและลับหลังกลุ่มบุคคล
3.)จิตสำนึก(awareness) สิ่งที่อยู่ภายใต้จิตใต้สำนิกตลอดเวลา ครั้งใดที่เกิดปะญหาหรือพบเห็นเรื่องที่มีความรู้จะดึงจิตใต้สำนึกให้เห็นภาพ
4.) การรู้สึกตอบโต้(sensitivity)สิ่งที่ว่องไวและถูกต้องหมายถึงว่าคราใดที่มีสิ่งเร้าต้องให้กระทำ จะมีเขาว์ปัญญาเลือกกระทำได้ถูกต้อง
5.)ทักษะ(skill) มีความรู้อย่างลึกซึ้งจนสามารุจำแนกได้อย่างถูกต้องในทุกสภาวะของสิ่งนั้น อีกทั้งสามารถปฏิบัตืได้ด้วยความชำนาญ

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551




การสกัดน้ำมันสบู่ดำ
สบู่ดำ" พืชพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล จากภาวะในปัจจุบันที่มีการรณรงค์ให้คนไทยหันมาประหยัดน้ำมันกัน ก่อนที่จะไม่มีน้ำมันให้ใช้ ส่งผลให้น้ำมันแพงขึ้น จึงมีการนำพืชที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้มาสกัดใช้งาน สบู่ดำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas Linn. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา Euphorbiaceae เช่นเดียวกับสบู่แดง ปัตตาเวีย ฝิ่นต้นหรือมะละกอฝรั่ง หนุมานนั่งแท่น โป๊ยเซียน มันสำปะหลัง มะยม มะขามป้อม ผักหวานบ้าน ซึ่งมีความหลากหลายกันค่อนข้างมากในลักษณะต้น ใบ ช่อดอก ผลและเมล็ด สบู่ดำเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อรับซื้อเมล็ดไปคัดบีบเอาน้ำมันสำหรับทำสบู่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 2-7 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเกลา ใบเรียบมี 4 แฉก คล้ายใบละหุ่ง แต่มีหยักตื้นกว่าใบที่เจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดเท่าฝ่ามือ ลำต้น ใบ ผลและเมล็ดมีสาร hydrocyanic สังเกตได้เมื่อหักลำต้น ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว ต้นสบู่ดำออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอดขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน เมื่อติดผลแล้วมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาป็นช่อพวงมีหลายผล เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจันทร์ รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง มีปลูกทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลงขนาดของเมล็ดเฉลี่ย ความยาว 1.7-1.9 ซม. หนา 0.8-0.9 ซม. น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว
สบู่ดำ เป็นชื่อเรียกในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า มะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า มะเยาหรือสีหลอด ภาคใต้ เรียก มะหงเทศ เมล็ดสบู่ดำมีสารพิษเรียกว่า CURCIN หากบริโภคแล้วทำให้เกิดอาการท้องเดินเหมือนสลอด กากสบู่ดำยังมีธาตุอาหารใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ ในชนบทยังใช้สบู่ดำเป็นยาสมุนไพรกลางบ้าน โดยใช้ยางจากก้านใบป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือดและแก้ปวดฟัน รวมทั้งผสมน้ำนมมารดากวาดป้ายลิ้นเด็กที่มีฝ้าขาวหรือคอเป็นตุ่ม และใช้ส่วนของลำต้นมาตัดเป็นท่อนๆ ต้มให้เด็กกินแก้โรคซางหรือตาลขโมย



การขยายพันธุ์ การใช้เมล็ด ควรเก็บฝักที่มีสีเหลืองแก่แกมสีน้ำตาล สามารถเพาะในถุงเพาะหรือกระบะทรายอายุประมาณ 2 เดือนจึงนำไปปลูก ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 8-10 เดือนหลังปลูก การใช้ท่อนพันธุ์ ควรใช้ท่อนพันธุ์สีน้ำตาลปนเขียว ยาว 45-50 ซม. จะเริ่มมีดอกและให้ผลผลิตระยะ 6-8 เดือน หลังปลูก
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ทำการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้ว ซึ่งได้ผลเหมือนกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดอื่นทั่วไป

การปลูก การเจริญเติบโตลำต้นจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านจึงควรตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ เพื่อให้ต้นแตกกิ่งก้าน ระยะปลูก 2x2.5 ตารางเมตร ฤดูปลูกที่เหมาะสมเป็นช่วง เดือน เมษายน - พฤษภาคม พื้นที่ปลูกควรเลือกพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง อยู่กลางแจ้งแสงแดดจัด เช่น คันนา นาดอนจัดหัวไร่ปลายนา ริมรั้วบ้าน
การสกัดน้ำมันสบู่ดำ ผลสบู่ดำแห้ง (ผลสีเหลืองถึงสีดำ) ที่แก่จากต้น นำมากระเทาะเปลือกออกให้เหลือเฉพาะเมล็ด นำไปล้างน้ำทำความสะอาด นำมาผึ่งลมให้เมล็ดแห้ง นำไปบุบเมล็ดให้แตก โดยการทุบหรือบดหยาบ นำเมล็ดที่ได้บุบแล้วออกตากแดดเพื่อรับความร้อนประมาณ 30 นาที แล้วนำเมล็ดสบู่ดำเข้าเครื่องสกัด (ใช้แรงงานคน) นำน้ำมันที่ได้ไปกรองเพื่อแยกเศษผง เมล็ดสบู่ดำ 4 กิโลกรัมสกัดน้ำมันได้ 1 ลิตร น้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดสบู่ดำสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ โดยไม่ต้องใช้ส่วนผสมและไม่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย กากเมล็ดสบู่ดำที่เหลือจากการสกัดน้ำมันมีปริมาณไนโตรเจนสูง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการจึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของพืชได้

การทดสอบการใช้งาน จากการนำน้ำสบู่ดำที่ได้ไปทดลองเดินเครื่องยนต์คูโบต้าดีเซล 1 สูบ แบบลูกสูบนอกระบบ 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยน้ำ ปริมาตรกระบอกสูบ 400 ซีซี. 7 แรงม้า/2200 รอบ/นาที ผลจากการทดสอบกับเครื่องยนต์เมื่อเดินเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันสบู่ดำครบ 1,000 ชั่วโมง ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ออกมาตรวจสอบ เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวนลิ้น หัวฉีดและอื่นๆ ไม่พบยางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดีเหมือนเดิม..