วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551




ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
สาระสำคัญ
ในการทำงานทุกโครงงาน ผู้ทำต้องระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทุกคนจึงต้องศึกษาการทำงานให้เกิดความปลอดภัย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วจะต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปลอดภัยถึงมือแพทย์ต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เนื้อหา
ไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน นับว่าเป็นประโยชน์และให้ความสะดวกแก่เราอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจได้รับโทษภัยจากไฟฟ้าได้เช่นกัน เช่น อาจถูกไฟฟ้าดูดมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาถึงวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง และศึกษาถึงหลักการโดยทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ในการปฏิบัติโครงงานทุกครั้งนักเรียนจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในขณะปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องป้องกันและระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิตของเรา
ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องคำนึงถึงความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ร่างกายไม่เหนื่อยอ่อน ตั้งใจทำงาน ไม่หยอกล้อเล่นกัน และความประมาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดสภาพของเครื่องมือที่ชำรุด และสภาพของสถานที่ปฏิบัติงานที่ไม่เอื้ออำนวยในการทำงาน สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในการปฏิบัติงานโครงงานอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งจะต้องปฏิบีติดังต่อไปนี้
1. พยายามฝึกให้มีความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยจนเป็นนิสัย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งป้องกันการชำรุดของเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
2. พยายามระลึกอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดครั้งแรกเกี่ยวกับไฟฟ้าอาจเป็นความผิดพลาดครั้งสุดท้าย
3. เครื่องมือเครื่องใช้ต้องมีสภาพที่จะใช้งานได้และไม่ชำรุด
4. เครื่องมือที่ใช้เสร็จแล้วต้องทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
5. ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
6. ก่อนจะใช้เครื่องใช้จักรกลใด ๆ ต้องศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการใช้ให้ดีเสียก่อน ซึ่งอาจศึกษาได้จากคู่มือการใช้เครื่องมือหรือสอบถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อน
7. อย่าหลอกล้อหรือเล่นกับเพื่อนในขณะทำงานหรือกำลังใช้เครื่องมือต่าง ๆ
8. เมื่อมีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นรีบรายงานให้ผู้ควบคุมทราบไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
9. เมื่อจะนำเครื่องมือไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้ไปใช้ ต้องแน่ใจว่ามีสายต่อลงดินเรียบร้อยแล้ว (สายต่อลงดินคือลวดตัวนำซึ้งต่อจากโลหะไปยังสายลงดินของวงจร)
10. เมื่อเราจะเจาะโลหะด้วยสว่านจะต้องจับชิ้นโลหะด้วยพกประกับให้มั่นคงเสมอ
11. เมื่อเกิดไฟไหม้จากไฟฟ้าจะต้องปลดสวิตซ์ตัดวงจรแล้วจึงรายงานให้เจ้าของสถานที่ทราบและพยายามดับไฟ หรือจำกัดขอบเขตไฟไหม้ให้ได้มากที่สุด
หลักการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
1. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าอันตรายจากไฟฟ้าไม่ว่าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสที่ไหลผ่านตัวเรา
2. แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า 50 โวลท์มีอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น
3. ก่อนจะเปลี่ยนแปลงหรือทำการซ่อมเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าใด ๆ ให้ปลดสะพานไฟออกจากวงจรก่อนเสมอ เช่น ปิดสวิตซ์ตัดไฟ และใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรที่จะตรวจซ่อม
4. เมื่อปลดสวิตซ์ตัดวงจรออกแล้วต้องผูกแผ่นป้ายอันตรายกำลังซ่อมทำวงจรไว้ที่สวิตซ์ และต้องเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย (จะให้แน่ใจเก็บฟิวส์ใส่กระเป๋าไว้ด้วย)
5. ในการดึงปลั๊กออกจากเต้าเสียบ (out let) ให้จับที่ตัวปลั๊กด้วยมือที่แห้งและสะอาดห้ามดึงที่สายไฟ
6. เมื่อจะเปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่ ต้องยกสวิตซ์ตัดตอนออกก่อนเสมอ
7. อย่าเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ให้มีขนาดโตขึ้นกว่าขนาดที่ถูกต้อง
8. เมื่อฟิวส์เกิดขาดขึ้นแล้วแสดงว่ามีสิ่งปกติเกิดขึ้นกับวงจรหรืออุปกรณ์ต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นก่อนจะยอมให้มันทำงานต่อไป
9. ปลดสวิตซ์ปลดทางไฟออกก่อนทำการเปลี่ยนฟิวส์ทุกครั้ง
10.เมื่อจะเปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ ต้องยืนบนที่แห้ง และอย่าให้มือข้างที่ไม่ได้ทำงานไปจับต้องหรือสัมผัสกับสิ่งอื่นใดที่เป็นโลหะ
11. ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องรู้จักวิธีผายปอดและการนวดหัวใจ
12. ก่อนที่จะนำเครื่องไฟฟ้าไปใช้ในงาน ต้องตรวจเทียบจากแผ่นป้ายของเครื่องว่าใช้กับแรงดันไฟฟ้าและ กระแสไฟฟ้าถูกต้อง
13. อุปกรณ์และสายไฟฟ้าที่ชำรุดอาจเกิดอันตรายต่อผู้ไปสัมผัส และอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรอันเป็นเหตุทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนใหม่หรือแก้ไขให้ดีขึ้น
14. อย่าใช้เครื่องมือที่มีฉนวนหุ้มซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะกระแสไฟฟ้าอาจวิ่งเข้าหาตัวเราผ่านทางเครื่องมือเหล่านั้นได้
15. อย่านำเครื่องไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้กับกระแสสลับ หรือกระแสสลับไปใช้กับกระแสตรงอย่าลืมปิดสวิตซ์หรือหมุนปุ่มไปตามการใช้นั้น ๆ
16. อย่าต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากับไฟฟ้าที่มีแรงดันคนละชนิดกัน ควรใช้หม้อแปลงไฟฟ้าปรับแรงดันไฟฟ้าให้มีระบบเดียวกันก่อน

การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าและการปฐมพยาบาล
การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายให้หลุดพ้นจากกระแสไฟฟ้าเป็นสิ่งแรกและจำที่จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็วรอบคอบและระมัดระวังเพื่อให้ผู้วิเคราะห์ได้มีโอกาสพ้นจากอันตราย ขั้นร้ายแรง และผู้ช่วยเหลือจะได้ไม่ประสบอันตรายไปด้วยอีก การช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด ควรปฏิบัติดังนี้ (การไฟฟ้านครหลวง. 2520 : 46 – 47)
1. อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่กำลังติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดให้ได้รับอันตรายไปด้วยอีกคน
2. รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้า โดยการถอดปลั๊กหรือปลดสวิตซ์หรือใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ไม้ เชือก สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท หรือใช้ผ้าแห้งพันมือให้หนา ดึง ผลัก หรือฉุดผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว
3. เมื่อไม่อาจทำวิธีอื่นได้ให้ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าให้หลุดออกหรือใช้มีด ขวาน ที่มีด้ามไม้ หรือฉนวนหุ้ม พันสายไฟฟ้าให้ขาด หลุดจากผู้เคราะห์ร้ายโดยเร็วที่สุดแต่การกระทำด้วยวิธีดังกล่าวจะต้องมั่นใจว่า สามารถทำได้โดยเร็วและปลอดภัย
4. อย่าลงไปในน้ำ ในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำแข็ง ให้หาทางเขี่ยสายไฟออกให้พ้น หรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อนที่จะลงไปช่วยผู้ประสบอันตรายที่อยู่ในบริเวณนั้น หากผู้ถูกไฟฟ้าดูดสลบหรือหมดสติ ให้รีบทำการปฐมพยาบาลให้ฟื้นโดยเร็วที่สุด
การปฐมพยาบาล
1. เมื่อได้ทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตรายออกมาได้แล้วจะโดยวิธีใดก็ตาม หากปรากฏว่าผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดหมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น (ตรวจโดยเอาหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร) ให้ใช้วิธี “นวดหัวใจภายนอก” โดยเอามือกดตรงที่ตั้งหัวใจดังรูปที่ 1 ให้ยุบลงไป 3-4 ซม. เป็นจังหวะๆ เท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ (ผู้ใหญ่วินาทีละ 1 ครั้ง เด็กเล็กวินาทีละ 2 ครั้ง) นวด 10-15 ครั้ง เอาหูแนบฟังครั้งหนึ่ง
2. หากไม่หายใจ (ตรวจดูโดยการขยายของซี่โครงและหน้าอก) ให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วยดังนี้
วิธีเป่าลมเข้าทางปาก
1.ให้ผู้ป่วยนอนราบจัดท่าให้เหมาะสมจับผู้ป่วยนอนหงาย ดังรูปที่ 2
2.ใช้นิ้วหัวแม่มือง้างปลายคางผู้ป่วยให้อ้าออก ดังรูปที่ 3 หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใด ๆ รวมทั้งฟันปลอมให้ล้วงออกให้หมด
3.ผู้ช่วยเหลืออ้าปากให้กว้างหายใจเข้าเต็มที่มือขวาข้างหนึ่งบีบจมูกผู้ป่วยให้แน่นสนิทและเป่าลมเข้าปากอย่างแรงจนปอดผู้ป่วยขยายออก (ซี่โครงและหน้าอกพองขึ้น) แล้วปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกเองแล้วเป่าอีก ทำเช่นนี้เป็นจังหวะ ๆ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ (ผู้ใหญ่นาทีละ 12-15 ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ 20-3.0 ครั้ง) ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเป่า เข้าทางจมูกแทน ดังรูปที่ 4
4.ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก ดังรูปที่ 5 ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ 15 ครั้ง หรือถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คนก็ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปากเป็นทำนองเดียวกัน โดยเป่าปาก 1 ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง
การปฐมพยาบาลช่วยให้ฟื้นนี้ต้องรีบทำทันทีหากช้าเกินกว่า 4-6 นาที โอกาสที่จะฟื้นมีน้อย ขณะพาไปส่งแพทย์ก็ควรทำการปฐมพยาบาลไปตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551



สบู่ดำ
ʺÙè´Ó เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง น้ำมันที่ได้จากเมล็ดสบู่ดำ สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ใช้ปลูกเป็นแนวรั้ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าทำลายผลผลิต เนื่องจากมีสารพิษ Hydrocyanic มีกลิ่นเหม็นเขียว สบู่ดำจึงเป็นพืชที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งสภาวะที่ราคาน้ำมันดีเซลมีราคาสูงอย่างในปัจจุบัน สบู่ดำมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha Curcas Linn. อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำมาบีบน้ำมันสำหรับทำสบู่ ปัจจุบันสบู่ดำมีปลูกอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่ามะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่ามะเยาหรือสีหลอด ภาคใต้เรียกว่ามาเคาะ
»ÃÐ⪹ì¢Í§ÊºÙè´Ó
1.ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น2.ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต3.เมล็ด หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดินใน
ลักษณะลำต้นสบู่ดำ
ต้นสบู่ดำ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ไม่มีแก่น ใบหยักคล้ายใบละหุ่งแต่หยักตื้นกว่า มี 4 หยัก
ลักษณะลำต้นสบู่ดำ
ต้นสบู่ดำ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ไม่มีแก่น ใบหยักคล้ายใบละหุ่งแต่หยักตื้นกว่า มี 4 หยัก
ลักษณะเปรียบเทียบผลสบู่ดำ
ลักษณะเมล็ดสบู่ดำ
เมล็ดสบู่ดำ เมล็ดมีสีดำ ขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็ก ๆ ติดอยู่ ความยาวประมาณ 1.7 – 1.9 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.8 – 0.9 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 69.8 กรัมแมลงที่เข้าทำลายต้นสบู่ดำ ไรขาว เป็นศัตรูอันดับ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น